การคำนวนต้นทุนโลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรม
การวิเคราะห์ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรม
การวิเคราะห์ต้นทุนรวมในงานด้านโลจิสติกส์เป็นสิ่งสำคัญในการจัดการโลจิสติกส์ โดยมีแนวคิดด้วยการลดต้นทุนรวมจากการลดต้นทุนในหลายๆกิจกรรม เนื่องจากการที่มุ่งลดต้นทุน เพียงกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเพี่ยงอย่างเดียวอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนของกิจกรรมอื่นให้สูงขึ้นได้ เช่น การ มีศูนย์กระจายสินค้าจำนวนน้อยสามารถช่วยลดต้นทุนในการเก็บสินค้าและต้นทุนคลังสินค้า แต่จะส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งเพิ่มมากขึ้น หรืออาจกระทบต่อยอดขายเนื่องจากระดับ การบริการลูกค้าที่ลดลง ในทำนองเดียวกันการลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อโดยการซื้อสินค้าเป็น จำนวนมากในแต่ละครั้งก็จะทำให้ต้นทุนการดูแลสินค้าเพิ่มขึ้น เป็นต้น ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกการวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรมว่าเป็นอย่างไรบ่าง เพื่อที่เราจะสามารถนำไปวิเคราะห์ต้นทุนในองค์ของเราได้เรามาทำความรู้จักกันเลย..
ต้นทุนโลจิสติกส์ หมายถึง ต้นทุนที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ด้านโลจิสติกส์ในสถานประกอบการ เพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวม และการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ และการบริการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ
โครงสร้างของต้นทุนโลจิสติกส์
ทั้งนี้ต้นทุนโลจิสติกส์นั้นสามารถแบ่งออกเป็นประเภท ได้ 4 ประเภท ดังนี้
1.ต้นทุนการขนส่ง (Transportation Cost) ต้นทุนที่เกิดจากกิจกรรมการขนส่งและบริการซึ่งต้นทุนเหล่านี้ยังผันแปรไปตามปริมาณการขนส่ง น้ำหนัก ระยะทาง จุดหมายปลายทาง รวมไปถึงวิธีการขนส่งที่ก่อให้เกิดต้นทุนที่แตกต่างกัน
2. ต้นทุนคลังสินค้า (Warehousing Costs) ต้นทุนที่เกิดจากกิจกรรมภายในคลังสินค้าและการจัดเก็บสินค้า การถ่ายโอนข้อมูลในคลังสินค้า การเลือกสถานที่ตั้ง เช่น โรงงาน คลังสินค้า ซึ่งจะแปรผันไปตามชนิดและปริมาณของสินค้า
3. ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง (Inventory Carrying Cost) ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง ซึ่งจะผันแปรไปกับปริมาณของสินค้าคงคลังและทำให้เกิดต้นทุนด้านต่าง ๆ อีก เช่น ต้นทุนเงินทุน (Capital Cost) และต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ต้นทุนในการดูแลสินค้าได้แก่ ค่าประกันภัย และภาษี ต้นทุนพื้นที่การจัดเก็บสินค้า ได้แก่ ต้นทุนด้านสถานที่ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณของสินค้า ต้นทุนความเสี่ยงในการจัดเก็บสินค้า ได้แก่ ความล้าสมัย การลักขโมย
4. ต้นทุนการบริหาร (Administration Cost) เกิดจากกิจกรรมหลัก 3 ประเภท คือ
ระดับการให้บริการ (Customer Service Level) เป็นเงินที่จ่ายไปเพื่อสนับสนุนการบริการลูกค้า เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำให้คำสั่งซื้อสมบูรณ์
ต้นทุนกระบวนการสั่งซื้อและระบบสารสนเทศ (Order Processing and Information Costs) ได้แก่ ต้นทุน ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสั่งซื้อ การกระจายการติดต่อสื่อสาร และการพยากรณ์อุปสงค์
ต้นทุนปริมาณ (Lot Quantity Cost) ซึ่งโดยหลักการแล้วจะขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่จัดซื้อจัดหาและผลิต
เราสามารถคำนวนต้นทุนโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมมีขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
Step 1. ศึกษาขอมูลของตนทุนโลจิสติกสใน กรอบกวาง ๆ
1.1 แบงประเภท และประมวลผลคาใชจายที่เกี่ยวกับงานโลจิสติกส์อยางงาย โดยใชขอมูลจากในบันทึกบัญชีหรือใบสลิป (คาใชจ่ายด้านบุคลากร, คาใชจายด้านการจัดสง , คาใชจายด้านการเก็บรักษา ฯลฯ) 1.2 คาใชจายในงานโลจิสติกสที่บริษัทดำเนินการเองที่คอนขางซับซอนยากตอการแบงประเภทหรือประมวลผล โดยหลักการแล้วจะใชการประเมิน (การคาดคะเน) สวนรายจายดานโลจิสติกสที่เกดจากการจัดจางจะใชขอมูลรายจายจริง
Step 2. ศึกษาขอมูลของตนทุนโลจิสติกสจาก งบกําไรขาดทุน
2.1 วิเคราะหตนทุนตามกิจกรรมดานโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นจริง โดยใชขอมูลที่เกี่ยวของกับกิจกรรมดานโลจิสติกส์ 2.2 จะแตกตางจาก Step 1 เปนอยางมาก ในขอที่วาเปน การคํานวณขอมูลตนทุนจาก “งบกําไรขาดทุน ” 2.3 จัดทําตารางขอมูลที่เกี่ยวของกับกิจกรรมโลจิสติกส์ เชน จํานวนผูปฏิบัติงานโลจสติกส์ จํานวนรถที่ใชในงานโลจิสติกส พื้นที่ที่เกี่ยวของกับงานโลจิสติกส์ ฯลฯ
Step 3. ศึกษาขอมูลของตนทุนโลจิสติกสโดย จําแนกตามลักษณะการปฏิบัติงาน
3.1 เปนวิธีการเก็บขอมลตูนทุนโลจสติกสตามหัวข้อการปฏิบัติงาน เชน การรับคำสั่งซื้อ การรับเขาสินค้า การตรวจสินคา การหยิบ ฯลฯ ซึ่งจะละเอียดกวาใน Step 2
3.2 จัดทําตารางเวลาปฏิบัติงานตามรายบุคคล (จําแนกตาม ลักษณะการปฏบิัติงาน) และตารางพื้นที่จําแนกตาม ลักษณะการปฏบิัติงาน
Step 4. ศึกษาขอมูลตนทุนโลจิสติกสตามวัตถุประสงคของการนําไปประยุกต์ใช โดยใชขอมูลที่ไดจาก Step 3
4.1 เปนวิธีการเก็บขอมลตูนทุนโลจสติกสตามวัตถุประสงค การนาขอมูลไปประยุกตใช เชน จําแนกตามสินคา หรือจําแนกตามกลุมสินคา ฯลฯ โดยใชตนทุนโลจิสติกสที่คํานวณไดใน Step 3
4.2 ในบางกรณีตองใชขอมูลของมูลคาการสงมอบสินคา หรือจํานวนชิ้นที่มีการสงมอบ ขึ้นอยูกับวัตถุประสงค ของการนําขอมลไปประยุกตใช้
ตัวอย่าง ตารางการวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม
1. ตารางการคำนวนต้นทุนการขนส่ง (Transportation Cost)
2. ตารางการคำนวนต้นทุนคลังสินค้า (Warehousing Costs)
3. ตารางการคำนวนต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง (Inventory Carrying Cost)
4. ตารางการคำนวนต้นทุนการบริหาร (Administration Cost)
5. ตารางการคำนวนต้นทุนโลจิสติกส์รวม
การศึกษาสถานการณ์ต้นทุนโลจิสติกส์อุตสาหกรรม: กรณีศึกษาต้นทุนการถือครองสินค้า (Inventory Carrying Cost)
การศึกษาการคำนวณต้นทุนการถือครองสินค้าใช้แนวทางการคำนวณต้นทุนโลจิสติกส์ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ คำนวณต้นทุนการถือครองสินค้า 4 ประเภท ได้แก่ วัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต สินค้าสำเร็จรูป และสินค้าที่ซื้อมาจำหน่ายในสภาพเดิม จากนั้นทำการเปรียบเทียบต้นทุนที่คำนวณได้ของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม พร้อมทำการวิเคราะห์ โดยสามารถจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมได้ดังนี้
จากตาราพบว่าต้นทุนการถือครองสินค้าของภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่า 391,141.79 ล้านบาท เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของต้นทุนการถือครองสินค้า พบว่าประกอบด้วย 4 ต้นทุนหลักเรียงลำดับตามมูลค่าต้นทุน ได้แก่ (1) ต้นทุนการถือครองวัตถุดิบและวัสดุประกอบ (Raw Materials and Components: RM) มีมูลค่า 211,088.64 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54 ของต้นทุนทั้งหมด (2) ต้นทุนการถือครองสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods: FG) มีมูลค่า 115,480.85 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29 ของต้นทุนทั้งหมด (3) ต้นทุนการถือครองสินค้าระหว่างผลิต (Work in Process: WIP) มีมูลค่า 57,580.66 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของต้นทุนทั้งหมด และ (4) ต้นทุนการถือครองสินค้าที่ซื้อมาจำหน่ายในสภาพเดิม (Goods Purchased for Resales: GPFR) มีมูลค่า 6,991.64 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2 ของต้นทุนทั้งหมด ตามลำดับ แสดงดังภาพ
เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าต้นทุนการถือครองสินค้าของประเทศ ที่มีมูลค่า 0.8249 ล้านล้านบาท พบว่าต้นทุนการถือครองสินค้าของภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 47.42 ของต้นทุนการถือครองสินค้าของประเทศ
เมื่อพิจารณาตามหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าต้นทุนการถือครองสินค้าสูงสุดได้แก่ (10) การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร มีมูลค่า 69,273.19 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.71 ของต้นทุนทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ (29) การผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง มีมูลค่า 50,516.63 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.92 ของต้นทุนทั้งหมด (26) การผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ มีมูลค่า 37,412.16 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.56 ของต้นทุนทั้งหมด (22) การผลิตผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก มีมูลค่า 33,931.37 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.67 ของต้นทุนทั้งหมด และ (20) การผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี มีมูลค่า 24,781.59 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.34 ของต้นทุนทั้งหมด ตามลำดับ
ที่มา : ตางรางการเก็บต้นทุนโลจิสติกส์ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม : สํานักงาน SMEs (The Small and Medium Enterprise Agency) : กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
: สำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 ทั่วราชอาณาจักร สำนักงานสถิติแห่งชาติ
26
ส.ค
2021