How to respond to disruption
How to respond to disruption
แปลและเรียบเรียงบทความโดย
นางสาวจุฑาภา บุญศิริชัย
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กิจกรรมการศึกษาฝึกงานประจำปีการศึกษา 2563
ณ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
แนวทางในการรับมือกับการหยุดชะงัก
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ยังไม่มีแนวโน้มจะลดลง ซึ่งส่งผลกระทบในหลายด้านของประเทศทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ธุรกิจต้องเผชิญความท้าทายทางการเงินและการปรับตัวในรูปแบบการดำเนินงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในขณะเดียวกันธุรกิจก็ต้องมีการตอบสนองต่อความต้องการของพนักงาน ลูกค้า และผู้ผลิต ผู้นำในกระบวนการห่วงโซ่อุปทานสามารถเปลี่ยนความซับซ้อนการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลังขึ้นได้หากมีการดำเนินงานที่ถูกต้อง
หลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดในครั้งนี้เกิดการหยุดชะงักในการดำเนินงานไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้และอาจจะทำให้ได้จนต้องปิดตัวลงในที่สุด ดังนั้นในการดำเนินงานจึงต้องมีการเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ทั้งการระดมความเสี่ยง การรับรู้ การวิเคราะห์ การกำหนดค่า และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลลัพธ์และลดความเสี่ยงได้ ดังนี้
Mobilize การระดมคำสั่งและแผนรับมือ รวมถึงตั้งกฎสำหรับการตอบสนองการแทรกแซงห่วงโซ่อุปทานและการจัดการยามฉุกเฉิน
Sense การรับรู้ ติดตามข้อมูลข่าวสารและจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงทั้งที่เคยเกิดขึ้นแล้วและอาจจะยังไม่เคยเกิดขึ้นแต่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมาได้ต่อองค์ประกอบและบริการห่วงโซ่อุปทานและระบบนิเวศ
Configure กำหนดค่าและพัฒนาความต่อเนื่องของเครือข่ายและสินค้าเพื่อดำเนินการควบคุมโปรโตคอล พัฒนาระบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อติดตามและประเมิน
Analyze วิเคราะห์สถานการณ์และโปรโตคอลแบบ what-if สำหรับแหล่งที่มา การวางแผน การสร้าง การแจกจ่าย และการบริการที่เกี่ยวข้อง
การระบาดของ COVID-19 ไม่ได้เป็นเพียงวิกฤตระยะสั้น มันมีความหมายในระยะยาวสำหรับวิธีการทำงานของผู้คนและการทำงานของห่วงโซ่อุปทาน มีความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับธุรกิจในการสร้างความยืดหยุ่นในระยะยาวสำหรับการจัดการห่วงโซ่อุปทานในอนาคต
สิ่งนี้ต้องการแนวทางแบบองค์รวมในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน บริษัทต้องสร้างความยืดหยุ่นที่เพียงพอเพื่อป้องกันการหยุดชะงักในอนาคต องค์กรควรพิจารณาในการพัฒนากรอบการทำงานที่แข็งแกร่งซึ่งรวมถึงความสามารถในการดำเนินและการจัดการความเสี่ยงที่สามารถตอบสนองและยืดหยุ่นได้
ความสามารถนั้นควรเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มที่สนับสนุนการวิเคราะห์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่องจักร นอกจากนี้ยังควรรับรองความโปร่งใสแบบ end-to-end ของห่วงโซ่อุปทาน เมื่อสามารถจัดการเทคโนโลยีได้เช่นนี้การตอบสนองความเสี่ยงจะกลายเป็นส่วนสำคัญของโปรโตคอลทางธุรกิจในในระยะยาว
ที่มาบทความ : https://www.accenture.com/be-en/insights/consulting/coronavirus-supply-chain-disruption