Supply chain logistics


19 ก.ค. 2021    TEERASAK

Supply chain logistics

แปลและเรียบเรียงบทความโดย

นางสาวพสุธร คงทอง

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กิจกรรมการศึกษาฝึกงานประจำปีการศึกษา 2563

ณ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

 

          การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในขณะไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชนทุกคนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อธุรกิจด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนซึ่งเป็นธุรกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานให้มีความต่อเนื่องตลอดทั้งห่วงโซ่ โดยในด้านการขนส่งสินค้าได้มีการควบคุมชายแดนและกฎระเบียบทางศุลกากรที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการรอคอยจากกระบวนการและความเข้มงวดของกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้การขนส่งยังขาดความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงานของผู้ที่อยู่ในระยะทางที่ไกลออกไป รวมทั้งความสามารถในการขนส่งสินค้าจากร้านค้าสู่ปลายทางลูกค้าที่เกิดความท้าทายที่รุนแรง

          ด้วยเหตุนี้องค์กรต่างๆจึงต้องเร่งเปลี่ยนแปลงและพัฒนาด้านดิจิทัลให้กับธุรกิจโลจิสติกส์ โดยเริ่มนำเสนอความสามารถของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อสร้างโอกาสในการเลือกใช้บริการของลูกค้า เช่น ความสามารถในการตรวจสอบคำส่งซื้อแบบ Real time การมองเห็นสินค้าคลังแบบครบวงจร และประสบการณ์ด้าโลจิสติกส์แบบย้อนกลับ

            นอกจากนี้ธุรกิจยังสามารถใช้โอกาสดังกล่าวเพื่อเริ่มต้นการดำเนินงานในรูปแบบใหม่โดยใช้ความสามารถด้านดิจิทัล และพัฒนาการรูปแบบการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน การทำเช่นนี้จะช่วยให้ธุรกิจแข็งแกร่งขึ้นด้วยห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ต่อการชะงักของธุรกิจโลจิสติกส์ในอนาคต

 

การดำเนินการหลัก 5 ประการ เพื่อจัดการกับผลกระทบของ Covid-19 ต่อการขนส่ง

    1.ปรับปรุงทัศนวิสัย : ใช้ Logistics Control Tower (LCT) ซึ่งเป็นระบบบริหารข้อมูลด้านโลจิสติกส์ สำหรับบริหารจัดการกิจกรรมด้านซัพพลายเชน เพื่อให้มองเห็นการปฏิบัติงานแบบ Real Time

    2.เพิ่มความยืดหยุ่น : เพิ่มความสามารถในการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง เพื่อสร้างสมดุลระหว่าอุปสงค์และอุปทาน

    3.การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ : การสื่อสารจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินงานจึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทั้งกับพนักงาน ผู้ผลิต ผู้ขนส่ง และลูกค้า ทั้งที่อยู่ใกล้และไกลออกไป

    4.การสนับสนุนด้านแรงงาน : บริหารจัดการและให้ความสำคัญกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีของพนักงาน ตลอดจนการขยายกำลังแรงงานด้านโลจิสติกส์

    5.เป็นผู้ดูแลห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบ : มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ต่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน และมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนลูกค้า ผู้ผลิต และเครือข่ายโลจิสติกส์ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัส Covid-19