วิฤต Covid- 19 กับโซ่อุปทาน (In the Eye of The Storm)
State of supply chains
ใจกลางพายุของวิฤต Covid- 19 กับโซ่อุปทาน (In the Eye of The Storm)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย
นางสาวกชกร แป้นสุวรรณ ชั้นปีที่ 4
สาขาการบริหารการจัดการโลจิสติกส์ เเละห่วงโซ่อุปทาน
มหาวิทยาลัยนานาชาติเเสตมฟอร์ด
กิจกรรมการศึกษาฝึกงานประจำปีการศึกษา 2563
ณ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
คำว่า Eye of the Storm นั้นมาจากการจัดเขตของพายุหมุนโซนร้อนอย่างเฮอร์ริเคนและพายุไต้ฝุ่นโดยที่จุดศุนย์กลางนั้นจะสงบกว่าพายุแรงๆ แต่จะมีความกดอากาศต่ำกว่าข้างนอก ถ้าจะให้เปรียบแล้วมันก็เหมือนความสงบเมื่อทุกอย่างรอบตัวนั้นกำลังจะเป็นหายนะ เช่นเดียวกันกับวิกฤต Covid-19 ที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกหยุดชะงัก ห่วงโซ่อุปทานนั้นเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการช่วยเหลือในวิกฤต Covid-19 เพื่อการตอบสนอง ปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ที่สำคัญทางการแพทย์ อาหาร และปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเผชิญกับวิกฤต Covid-19 ให้ไหลเวียนได้อย่างราบลื่น การระบาดของ Covid-19 เป็นบททดสอบความสามารถให้แก่บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นแรงขับเคลื่อนด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนทั่วโลกอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ว่าจะเป็นไหวพริบในการแก้ไขปัญหา ความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วหลังจากเผชิญกับอุปสรรค และความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจตามที่ทุกองค์กรต่างล้วนต้องการรักษากระบวนการที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจเอาไว้
การแพร่ระบาดในครั้งนี้ถือว่าเป็นบทพิสูจน์ที่แท้จริงเกี่ยวกับค่านิยมและวัตถุประสงค์ขององค์กร ว่าในท้ายที่สุดแล้วทางบริษัทจะตัดสินใจในการตอบสนองต่อช่วงเวลานี้ต่อ ผู้บริโภค นักลงทุน รัฐบาล และชุมชนของพวกเค้าได้อย่างไร
ผลกระทบต่อระบบโซ่อุปทาน
เนื่องจากการแพร่ระบาดยังคงเป็นภัยคุกคามที่ยังคงอยู่ ณ ปัจจุบัน และหลายภูมิภาค หลายประเทศยังต้องทำการล็อคดาวน์อยู่ แต่ในขณะเดียวกันในบางแห่งก็ปรากฏสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากเดิมมาก การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานยังคงดำเนินต่อไปอย่างรุนแรง แต่เมื่อใดก็ตามที่เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมา ห่วงโซ่อุปทานจะเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการจัดหาสินค้า และการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และมั่นคง
เจ้าของธุรกิจต้องมีการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว และดำเนินการอย่างเร่งด่วน ที่จะคงไว้ซึ่งความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนการรักษาและสนับสนุนพนักงานในองค์กรของท่านเอง
ห่วงโซ่อุปทานที่นำกลับมาใช้ใหม่และปรับโฉมใหม่ในอนาคตนี้ ต้องการความพิเศษอยู่สองแบบ คือ ความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วหลังจากเผชิญกับอุปสรรค (Resilience) กับ ความรับผิดชอบ (Responsibility) โดยทั้งสองสิ่งนี้จะช่วยให้สามารถจัดการวิกฤตในระยะสั้นและช่วยให้ธุรกิจหรือผู้ประกอบการสามารถสร้างฐานลูกค้าและช่วยเหลือให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้
ความเสี่ยงและความท้าทายของห่วงโซ่อุปทาน
เนื่องด้วยวิกฤตโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค ห่วงโซ่อุปทาน และเส้นทางสู่ตลาด สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบให้บริษัทเกิดการเสียสมดุลทางธุรกิจ การตอบสนองต่อวิกฤตโควิด-19 นี้ยิ่งเป็นการเน้นย้ำสภาวะความเป็นผู้นำ ที่จะเร่งปรับตัวด้วยวิธีที่ทำให้ธุรกิจคล่องตัวในการทำงานและการปรับเปลี่ยนของห่วงโซ่คุณค่าในการตลาด (Value Chain) ที่จะมาขจัดความไม่แน่นอนในวิกฤตการณ์นี้
โควิด-19 ไม่ใช่ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทั่วไป ด้วยขนาดของผลกระทบวิกฤตการณ์นี้บดบังทุกสิ่งที่ผู้นำด้านโซ่อุปทานเคยประสบพบเจอมาก่อน ความรวดเร็วของการยกระดับต้องเริ่มประเมินอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง, การคำนึงถึงความเหมาะสมและการติดตาม บริษัทต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าบริษัทได้กำหนดรูปแบบและแผนดำเนินการในระยะสั้นได้อย่างถูกต้อง ช่วยลดความเสี่ยงต่อบุคลากร และปกป้องระบบโซ่อุปทานทั่วโลก เพราฉะนั้น ข้อมูลที่แน่น และความสามารถในการวิเคราะห์ จึงมีความสำคัญในการทำความเข้าใจ ความซับซ้อนของปัญหา, การคาดการณ์การหยุดชะงักที่จะกิดขึ้น รวมถึงมีผลต่อพัฒนาการตอบสนองต่อปัญหาอย่างรวดเร็ว
ความท้าทายของห่วงโซ่อุปทาน
- ห่วงโซ่อุปทานขาดความยืดหยุ่น และเผชิญหน้าต่อการพังหรือหยุดชะงักในหลายๆ ประเทศ
- การดำเนินงานมีต้นทุนสูงขึ้น (เช่น ต้นทุนระดับโลกและค่าใช้จ่ายในด้านของอีคอมเมิร์ซ) และมักจะแสดงถึงต้นทุนที่มากที่สุดของบริษัท
- การดำเนินงานไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท (Stakeholder)
- การขาดความยืดหยุ่นในความสามารถของการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
- ระบบไอทีที่ใช้ในจำเป็นต่อการดำเนินงานยังคงมีราคาสูง และส่วนระบบที่ยังใช้งานในองค์ขาดความยืดหยุ่นที่จะรองรับการเปลี่ยนแปล หรือพูดได้ว่าเทคโนโลยีที่ใช้ค่อนข้างเก่า
การผลิต
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนด้านการผลิตต้องคำนึงถึงความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยจะต้องรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของธุรกิจ
พวกเขาได้จัดตั้งทีมตอบสนองอย่างรวดเร็ว (Accenture’s supply chain resilience recommendations) เพื่อให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงความต้องการในการผลิต ความท้าทายในการสนับสนุนแรงงาน และข้อจำกัดของระบบนิเวศของห่วงโซ่อุปทาน
บริษัทยังต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างธุรกิจที่สามารถพิสูจน์ได้ถึงการทำงานในอนาคต โดยใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ปกป้องการดำเนินงาน และสนับสนุนพนักงานผ่านพ้นวิกฤตการณ์นี้ นอกเหนือจากความจำเป็นในข้างต้นที่กล่าวมาแล้วนั้น คำนึงถึงการดำเนินงานที่คำนึงถึงการป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะช่วยรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันพื่อเร่งการเติบโตของธุรกิจเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว
5 สิ่งที่ควรทำเพื่อสร้างความคล่องตัวให้กับบริษัททั้งในปัจจุบันและอนาคต
1. ทำความเข้าใจผลกระทบของการหยุดชะงักในอุปสงค์ – ต้องจำแนกแยกสินค้าที่มีความสำคัญที่สุดเพื่อรักษาเสถียรภาพและการเติบโต และผสมผสานทักษะที่สำคัญเพื่อบรรลุถึงความต้องการในอนาคต
2. บริหารจัดการความปลอดภัย และยืดหยุ่นต่อพนักงาน – ต้องรักษาความเชื่อมั่นของพนักงาน โดยไม่เพียงแต่แค่คำนึงความปลอดภัยเท่านั้น ต้องคำนึงถึงสุขภาพทางจิตและความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วย
3. รับรองระบบนิเวศของการผลิต – ต้องเข้าใจโรคระบาดนี้ และเข้าใจข้อกำหนสัญญาสำหรับระบบนิเวศที่สำคัญ รวมถึงซัพพลายเออร์วัสดุบริษัทผู้รับเหมา ผู้ผลิตร่วม และผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์
4. ปรับสมดุล สินทรัพยฝั่งการผลิต – ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วและแม่นยำเมื่อเกี่ยวกับการลงทุน ที่จำเป็นสำหรับสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้แล้วเพื่อนำมาใช้ใหม่อีกครั้ง หรือสร้างความยืดหยุ่นมากขึ้นในสินทรัพย์หมุนเวียนในระยะสั้น เพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินใจเหล่านั้นจะไม่ขัดขวางการเติบโตของบริษัทในอนาคค
5. ใช้ประโยชน์จากความสามารถด้านดิจิทัล - ผู้ผลิตที่มีแพลตฟอร์มดิจิทัล ข้อมูลที่เข้าถึงได้และมีประโยชน์ รวมทั้งมีความสามารถในการวิเคราะห์ขั้นสูงจะสามารถตอบสนองต่อการหยุดชะงักของ COVID-19 ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำและประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น
ที่มาบทความ : https://www.accenture.com/be-en/insights/consulting/coronavirus-supply-chain-disruption