บทความทางวิชาการ กรณีศึกษาผู้ประกอบการผลิตเสื้อผ้าไทยกับการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน


18 ม.ค. 2565    Panupong

บทความทางวิชาการ กรณีศึกษาผู้ประกอบการผลิตเสื้อผ้าไทยกับการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
 (
Case Study : MC group and Logistics and Supply Chain Analysis)

นายภาสันต์ วิชิตอมรพันธ์
กองโลจิสติกส์

1. ผู้ประกอบการไทยกับการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

     ตัวอย่างผู้ประกอบการไทยที่นำหลักการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจ Business Model ดังนี้

                    

ภาพที่ 1 แสดงแผนธุรกิจและโครงสร้างองค์กรของผู้ประกอบการเสื้อผ้าของไทย

ที่มา รายงานทางธุรกิจของบริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2559

     ผู้ประกอบการผลิตเสื้อผ้าของบริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MC group เป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทยีนส์ แบรนด์ Mc Jeans กว่า 40 ปีมาแล้วจนอยู่ในกลุ่มผู้นำตลาดเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มของประเทศ (S-curve เดิม) บริษัทฯ วิเคราะห์แล้วว่า Product life cycle ของสินค้าประเภทยีนส์เป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม ถ้าไม่มีการปรับตัวเองและขยายตลาดไปยังกลุ่มสินค้าอื่นๆ แล้วจะทำให้สูญเสียความเป็นผู้นำตลาดได้ จนกระทั่ง ปี 2555 บริษัทฯ จึงปรับโครงสร้างธุรกิจและเปลี่ยนกลยุทธ์ขององค์กรจากเดิมครั้งใหญ่ Competitive Strategies (Business Level)  โดยการขยายตลาดให้กว้างออกไปด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ประเภทเครื่องแต่งกายและไลฟ์สไตล์หรือNew S-curve เพื่อให้บริษัทฯ ยังคงอยู่ในกลุ่มผู้นำตลาดของประเทศ จากการวิเคราะห์ Business Model พบว่า บริษัทฯ นำหลักการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมาใช้ในองค์กร เช่น Demand planning, Network planning, Distribution and Inventory Management (วงกลมสีเขียว) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้ามาทำการวางแผนการผลิตและบริหารจัดการซัพพลายเชน จากรายงานทางธุรกิจ
(แบบฟอร์ม 56-1 ในปี 2559) บริษัทฯ มีการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจด้วยการบริหารจัดการซัพพลายเชนด้วย ดังนี้

     1) การวางแผนสินค้าและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Merchandising Plan and New Product Development) การวางแผนสินค้าและการพัฒนาสินค้าใหม่ บริษัทมีการวิเคราะห์และศึกษาความต้องการของผู้บริโภค และการเปลี่ยนแปลงของไลฟ์สไตล์ กระแสสังคม และพฤติกรรมของผู้บริโภค

ภาพที่ 2 แสดงแผนธุรกิจและโครงสร้างองค์กรด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของผู้ประกอบการเสื้อผ้าของไทย
ที่มา รายงานทางธุรกิจของบริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2559

     2) การบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) บริษัทจัดหาสินค้าจากโรงงานผลิตของกลุ่มบริษัท และการว่าจ้างผู้รับจ้างผลิตภายนอก โดยบริษัทจะทำการประมาณการขายและทำการสั่งซื้อสินค้า เพื่อให้สามารถจัดหาสินค้าได้ทันกับความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ และลดเวลาการส่งสินค้าออกสู่ตลาด

     3) การบริหารเครือข่ายค้าปลีก (Retail Network Management) บริษัทมีการบริหารจัดการช่องทางการค้าปลีกเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงรวมถึงคอยติดตามวิเคราะห์และวัดผลการดำเนินงาน นอกจากนี้ บริษัทยังมีเครือข่ายค้าปลีกในต่างประเทศผ่านคู่ค้าซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีความเชี่ยวชาญในการทำตลาดในแต่ละประเทศ

     บทความนี้แสดงถึงการปรับตัวของธุรกิจ โดยใช้หลักการทางธุรกิจและหลักการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน โดยขยายตลาดไปสู่ New S-curve ด้วยวิธีขยายตลาดไปยังสินค้ากลุ่มอื่นๆ แต่อาจจะยังไม่ตอบโจทย์สำหรับ SMEs ที่มีการแข่งขันทางธุรกิจอย่างรุนแรงในปัจจุบัน  

2. กรณีศึกษาของ SMEs กับโอกาสการไปสู่ Global Value Chain

     กรณีศึกษา Uniqlo : Global Value Chain ; GVC เป็นผู้ออกแบบ ผู้ผลิต และผู้ค้าปลีก เสื้อผ้าลำลองสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งผู้ผลิตสินค้าดังกล่าวเลือกใช้กลยุทธ์ Differentiate Strategy ในการผลิตสินค้า
ที่แตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ ทำให้มียอดขายเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่น สามารถวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จจากผู้ผลิตในระดับโลก ดังนี้

     1. Uniqlo เป็นรายแรกๆ ของผู้ผลิตเสื้อผ้าที่นำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ เช่น เสื้อผ้าหน้าร้อน Sarafine เป็นเทคโนโลยีที่ให้ความรู้สึกเย็นสบายเมื่อสวมใส่และระบายเหงื่อได้ดี ผ้าหน้าหนาวก็มีเสื้อ HEATTECH ที่ให้ความรู้สึกอุ่นสบายไม่หนาเทอะทะ และแจ็กเกตขนเป็ด Ultra Light Down ที่กันหนาวได้ดีแต่น้ำหนักเบามาก

ภาพที่ 3 แสดงผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตเสื้อผ้า Unqlo
ที่มา
เว็บไซต์ www.uniqlo.com

Uniqlo เลือกใช้กลยุทธ์ Differentiate Strategy ในการผลิตสินค้าที่แตกต่าง ทำให้มียอดขายเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่น

 

ภาพที่ 3 แสดงผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้ผลิตเสื้อผ้า Unqlo
ที่มา เว็บไซต์ www.uniqlo.com

     2. Uniqlo ยังใช้หลักการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมาบริหารจัดการ ทำให้สามารถขยายสาขาไปได้ทั่วโลก จากการวิเคราะห์โครงสร้างองค์กรจาก Business Model มีรายละเอียด ดังนี้

     Uniqlo : ยังคงดำเนินการเองในแผนกที่สร้าง Value added ให้กับบริษัทฯ แต่ ให้หน่วยงานภายนอกดำเนินการในแผนกที่มี Low Value added โดยบริษัทฯ จะติดตาม ควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าอย่างใกล้ชิด เช่น แผนก Material Manufacturer, Partner Factories, Warehouse (วงกลมสีเขียว)
     Uniqlo : เปลี่ยนวิธีการควบคุมการบริหารจัดการร้านขายปลีกจากต่างประเทศ“overseas management control” เป็นร้านขายปลีกแต่ละสาขาบริหารจัดการเอง “local management” เพื่อให้ร้านสาขาที่ตั้งอยู่ในแต่ละพื้นที่สามารถจัดการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองต่อซัพพลายเชนสุดท้าย (the end--point of supply chain) ตามความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น มีการจัดการสินค้าคงคลัง และมีสินค้าพร้อมขายอยู่ตลอดเวลา (product--availability) ทำให้สามารถรักษาความพึงพอใจของลูกค้า (end--customer satisfaction) ได้เป็นอย่างดี

ภาพที่ 4 แสดงแผนผังกระบวนการธุรกิจของ Uniqlo

ที่มา เว็บไซต์ www.uniqlo.com

3. กรณีศึกษาผู้ประกอบการผลิตเสื้อผ้าชั้นนำกับการวิเคราะห์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
     แต่เดิม Uniqlo มีโรงงานผลิตที่ประเทศจีน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ แล้วจึงกระจายสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก (โครงสร้างซัพพลายเชนเดิม, Before) แต่เมื่อ Uniqlo จะขยายตลาดไปยังสหรัฐอเมริกา Uniqlo มีการวางแผนและวิเคราะห์ Logistics & Supply Chain Cost เพื่อหาที่ตั้งโรงงานผลิตที่ต้นทุนต่ำกว่า พบว่า ที่ตั้งโรงงานที่เหมาะสมในการขยายตลาดไปยังสหรัฐฯ อยู่ที่ประเทศเม็กซิโก เนื่องจาก

ภาพที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบโครงสร้างซัพพลายเชนของ Uniqlo

     1. ใกล้แหล่งวัตถุดิบคุณภาพสูง เช่น Cashmere, ผ้าฝ้าย Supima, ขนสัตว์ Merino wool โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนสัตว์ Cashmere มีราคาแพงแต่ Uniqlo สามารถต่อรองกับผู้ผลิตด้วยต้นทุนต่ำได้ วัตถุดิบที่ต้องใช้เพื่อผลิตเสื้อผ้าจากเม็กซิโกและจาก Latin America เข้ามาผลิตที่โรงงานในเม็กซิโกด้วยต้นทุนต่ำ
     2. ประเทศเม็กซิโกมีข้อตกลงการค้าเสรี (Free-trade agreements) ที่มีสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ ทำให้ต้นทุนการขนส่งต่ำเมื่อส่งสินค้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ จากข้อได้เปรียบในการเลือกที่ตั้งโรงงานผลิตในเม็กซินโก ทำให้โครงสร้างซัพพลายเชนเปลี่ยนจากเดิม ดังรูป และสามารถเปรียบเทียบข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบระหว่างที่ตั้งโรงงานทั้ง 2 แห่ง ดังตาราง

ตารางแสดงการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต (Merits and Demerits of Manufacturing Locations)