Supply Chain Procurement
การจัดซื้อจัดหาของโซ่อุปทาน (Supply Chain Procurement)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย
นางสาวภัทร์รพี เลิศสัฒนนนท์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
มหาวิทยาลัยมหิดล
กิจกรรมการศึกษาฝึกงานประจำปีการศึกษา 2563
ณ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
การจัดซื้อจัดหาของโซ่อุปทาน
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ยังคงมีการแพร่ระบาดในขณะนี้ ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลก แต่ยังส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่ทำให้เกิดปัญหาการหยุดชะงักอย่างรุนแรงด้วยเช่นกัน ผู้ประกอบการและธุรกิจจะต้องเตรียมรับมือกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุทานของตน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดลงของวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิต เนื่องจากหลายๆสถานประกอบการณ์ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบอาจปิดตัวลงเนื่องจากไม่สามารถทนแบกรับกับปัญหาต่างๆได้ ทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบ หรืออาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะต้องจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งอื่นที่มีราคาสูง
ดังนั้นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจึงมีบทบาทที่สำคัญในการบริหารจัดการและการดำเนินการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เร่งด่วนและช่วยลดการแข่งขันของซัพพลายเออร์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เป็นปัญหาต่อองค์กรตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน
จากปัญหาและความพยายามเบื้องต้นจึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่อยู่ลำดับต้น เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากการหยุดชะงักของซัพพลายเออร์ในลำดับที่ 1 และ 2 และในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญกับการจัดซื้อที่ต้องอาศัยการตัดสินใจภายในเวลาที่จำกัด ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดของห่วงโซ่อุปทานด้วย ในปัจจุบันจึงควรหันมาให้ความสนใจกับการรักษาฐานลูกค้าเก่า การลงทุนอย่างชาญฉลาด และการสร้างความยืดหยุ่นของธุรกิจในอนาคต
วิธีการนี้ไม่เพียงช่วยจัดการในภาวะฉุกเฉินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมเติบโตเมื่อเศรษฐกิจกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง
5 ประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ
1. ให้ความสำคัญกับบุคลากรเป็นอันดับแรก : พัฒนารูปแบบการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลและวิธีใหม่ๆ ในการทำงานกับลูกค้าภายใน ความสัมพันธ์ของซัพพลายเออร์ และพันธมิตรภายนอก
2. การรักษาฐานการผลิต : จัดการและลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของอุปทานกับซัพพลายเออร์
ทุกขนาด ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่
3. การลงทุนอย่างชาญฉลาด : ลดความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและรักษาเงินสดไว้สำหรับการลงทุนในอนาคต
4. สร้างความยืดหยุ่นสำหรับอนาคต : จัดทำกลยุทธ์สำหรับการจัดการความเสี่ยงเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับการดำเนินงานที่ยืดหยุ่นและการตัดสินใจจัดซื้อจัดจ้างตามวัตถุประสงค์
5. การสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างมีเป้าหมาย : ใช้แนวทางที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความไว้วางใจ ความโปร่งใส การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และนวัตกรรมที่มากขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัว
การจัดซื้อจัดจ้างของโลกหลังสถานการณ์โควิด-19
หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ขยายเป็นวงกว้างทำให้การจัดซื้อมีบทบาทสำคัญในการปกป้องศักยภาพทางการเงินของบริษัทและปกป้องฐานอุปทานที่หยุดชะงักอย่างรุนแรง ดังนั้นจึงต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคตของโลกหลังสถานการณ์โควิด-19
โดยควรคำนึงถึง 3 สิ่ง คือ
1. การทำงานตามกระบวนการ : การวางแผนสำหรับสภาวะที่ถดถอยเป็นเวลาหลายเดือนหรือนานกว่านั้น รวมทั้งความเสี่ยงที่การติดเชื้ออาจกลับมาระบาดอีกครั้งทั้งทั่วโลก ภูมิภาค หรือท้องถิ่น
2. การเรียนรู้และพัฒนา : นำความรู้และความสามารถมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจ และยอมรับแนวความคิดของนวัตกรรมที่จะพัฒนาต่อไป
3. เป็นกำลังที่ดีขององค์กร : การปรับรูปแบบองค์กรเพื่อให้มีความยืดหยุ่น ความรับผิดชอบที่มากขึ้น และช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจและสังคม
ที่มาบทความ : https://www.accenture.com/be-en/insights/consulting/coronavirus-supply-chain-disruption