Supply Chain planning


19 ก.ค. 2564    TEERASAK

Supply Chain Planning

แปลและเรียบเรียงบทความโดย

นางสาวปุณยนุช ตั้งบริบูรณ์สุข

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

 สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กิจกรรมการศึกษาฝึกงานประจำปีการศึกษา 2563

ณ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

 

การวางแผนห่วงโซ่อุปทาน

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งด้านการดำเนินงานและด้านการเงิน นักวางแผนจะต้องรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นและลดลงของอุปสงค์ อุปทานหรือความต้องการที่ลดลง การบริหารจัดการด้านสินค้าคงคลัง และปัญหาด้านการผลิต

          ท่ามกลางความท้าทายในสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 นักวางแผนไม่สามารถยึดหลักการตามสภาวะปกติทั่วไปที่เคยใช้อยู่ได้ แต่จะต้องให้ความสำคัญกับการตัดสินใจ โดยจะต้องติดตามข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อประกอบการตัดสินใจในแต่ละขั้นตอน ซึ่งจะทำให้การวางแผนและการปฏิบัติงานสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

 

เราจะทำอย่างไรในสถานการณ์ Covid-19

   5 ความสำคัญของห่วงโซ่อุปทานที่ควรปฏิบัติ

1.ให้ความสำคัญกับคนเป็นอันดับแรก : ดูแลรักษาทีมงานทุกคนให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และปรับเปลี่ยนหรือสนับสนุนให้มีการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ Covid-19 ให้กับพนักงานทุกคน

2.การติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด : นำข้อมูลมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับข้อมูลของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านคลังสินค้า ด้านความต้องการจากลูกค้า ด้านการเงิน หรือด้านอื่นๆ

3.กำหนดส่วนแบ่งทางตลาด: วิเคราะห์อุปสงค์อย่างรอบคอบและกำหนดส่วนแบ่งการตลาดเพื่อจัดลำดับความสำคัญ จะทำให้ทราบถึงสถานะของธุรกิจตนเองจึงจะสามารถวางแผนในการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

4.สร้างทีมขายและทีมปฏิบัติการ : ระดมทีมงานเพื่อวางแผนและปฏิบัติงานตามแผนโดยเฉพาะ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนและสามารถรับมือกับปัญหาความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.ประเมินสถานการณ์ของห่วงโซ่อุปทาน : นำแบบจำลองเข้ามาใช้เพื่อคาดการณ์กับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมไปถึงการใช้แบบจำลอง end-to-end (กระบวนการโลจิสติกส์ครบวงจร) เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้

 

   3 ประเด็นหลักสำหรับการวางแผนห่วงโซ่อุปทาน

          องค์กรต่างๆ มีโอกาสที่จะใช้ช่วงเวลาที่ท้าทายนี้เพื่อศึกษาว่าการดำเนินงานส่วนใดจำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อเป็นการพัฒนาด้านการวางแผนโซ่อุปทาน และเพื่อพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างต่อเนื่องเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมี 3 ประเด็นหลักที่สำคัญสำหรับการวางแผนห่วงโซ่อุปทาน ดังนี้

1.การพัฒนาระบบดิจิทัล เพื่อรองรับข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

2.การปรับรูปแบบการดำเนินงานในมิติใหม่ๆ เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต และสามารถปรับตัวได้กับทุกสถานการณ์เพื่อที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุด

3.การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่งระหว่างคู่ค้า มีสังคมที่เปิดกว้างขึ้นทำให้มีช่องทางและโอกาสในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงด้านต่างๆที่อาจเกิดขึ้นภายในองค์กรให้น้อยลงเช่นกัน

 

ที่มาบทความ : https://www.accenture.com/be-en/insights/consulting/coronavirus-supply-chain-disruption